Batteries Li-po


Batary Li-po


ปัจจุบันนี้ ลิโพ หรือ Li-po (lithium polymer) เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมที่สุดสำหับวงการ RC ทั่วโลก เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆมันตอบโจทย์ที่สุดในเรื่อง การจุพลังงาน  อัตราส่วนของน้ำหนัก และ ความสามารถในการจ่ายไฟ ถึงแบตเตอรี่นี้จะเป็นที่นิยมและพัฒนาไปมากขนาดไหน แต่มันก็เป็นแบตเตอรี่ชนิดนึงที่มีความจุกจิกมากเหมือนกันครับ และก็มีอีกหลายเรื่องของแบต Li-po ที่เราๆยังเข้าใจผิดอยู่อีกเพียบ

มารู้จัก แบตเตอรี่ Li-po
lithium polymer หรือ Li-po เป็นหนึ่งในกลุ่มของแบตเตอรี่ชนิด  lithium ที่มีอยู่ในโลก มันจะต่างกับแบตเตอรี่ lithium ion,lithium ferrite ตรงที่ Li-po จะมีพลังงานความหนาแน่นมากๆ และสามารถชาร์จ/ดิสชาร์จได้ด้วยแอมป์สูงๆ และยังมีความผันผวนที่มากกว่า lithium ชนิดอื่นๆ Li-po จะแพ็คอยู่ในแบบเรียงซ้อนกันและแรงดันต่อเซลล์จะอยู่ที่ 3.7 โวลล์ ถ้าชาร์จเต็มจะอยู่ 4.2 โวลล์

mAh
mAh ย่อมาจาก milli-Amp-hour (1/1000th ของ Ah) และเอาไว้ใช้เป็นตัวบอกความจุของแบตเตอร์รี่ทุกชนิดและรวมถึงแบตลิโพด้วย  ต่อไปก็ Ah ตัวนี้จะบอกถึงว่าใน 1 ชั่วโมงแบตเตอร์รี่จะถูกเบิร์นหรือใช้ออกไปเป็นจำนวนเท่าไหร่ ยกตัวอย่าง แบตเตอร์รี่ขนาด 2200mAh ก็จะหมายความว่าใน 1 ชั่วโมงแบตเตอร์รี่จะถูกอใช้ออกไป 2.2Amp

ความหมายของ 3s1p หรือ 2s2p
ตัวนี้จะบอกถึงจำนวนการอนุกรมและขนานของเซลล์ในแบตเตอร์รี่  ตัว S จะบอกถึงจำนวนที่มีการอนุกรมกัน และตัว P จะบอกถึงจำนวนที่มีการขนานกันในเซลล์ หรือในแบตเตอร์รี่ก้อนนั้นๆ ยกตัวอย่าง แบตเตอร์รี่ที่เขียนว่า 3s1p มันก็มาจาก การอนุกรมกันของ 3 เซลล์ และถ้าเป็นแบตเตอร์รี่ที่เขียนว่า 2s2p มันก็มาจากแบตเตอร์รี่ 2  แพคที่ต่อขนาดกันเอามาอนุกรมกัน พอจะนึกภาพออกนะครับ ต่อไปถ้าพูดถึง s จะบ่งบอกถึงจำนวนโวลล์ในแบตเตอร์รี่แพคนั้นๆยิ่ง s มากเท่าไหร่แบตเตอร์รี่จะจะมีโวลล์สูงกว่าแบตเตอร์รี่ที่มี s น้อยกว่าและถ้าพูดถึง p จะบอกว่าเกี่ยวกับความจุของแบตเตอร์รี่แพคนั้นๆ

ค่า C
แบตเตอร์รี่ลิโพทุกก้อนจะมีแสดงถึงค่า C ยกตัวอย่างเช่น แบตเตอร์รี่ 2200mAh ค่า 1 c ค่าของแบตเตอร์รี่ก้อนนี้ก็คือ 2.2A และถ้าเป็นแบตเตอร์รี่ 5500mAh ค่า c ก็ของแบตเตอร์รี่ก้อนนี้ก็คือ 5.5A

วิธีคิด สมมุติ battery 2200mAh   ..เริ่มโดยเอา 1000 มาหาร (เพราะว่าเราจะเปลี่ยนให้เป็น Ah)
จะได้เป็น 2.2Ah จากนั้นเอา (h)hours ออก ก็จะได้ค่าA ที่ 1C แล้วครับ
ดังนั้นถ้าแบตเตอร์รี่นั้นชาร์จสูงสุดได้ที่  1C  =  ก็จะชาร์จได้  2.2A

ตัวอย่าง
batt 2200mAh ที่ 1C จะจ่ายกระแส 2200mAh : ดังนั้น 1c จะชาร์ทได้ 2200/1000 = 2.2A
batt 2200mAh ที่ 5C จะจ่ายกระแส 11000mAh : ดังนั้น 5c จะชาร์ทได้ 11000/1000 = 11A
batt 2200mAh ที่ 10C จะจ่ายกระแส 22000mAh : ดังนั้น 10c จะชาร์ทได้ 22000/1000 = 22A
***การหาค่า C เราจะเอาค่าความจุของแบตเตอร์รี่มาคิดเท่านั้นนะครับ***

ถ้าแบตเตอร์รี่เขียนว่าชาร์จได้ 5c เราจะสามารถชาร์จแบตเตอร์รี่ก้อนนั้นสูงสุดได้ได้กี่แอมป์ หรือถ้าแบตเตอร์ก้อนไหนไม่ได้เขียนบอกไว้ว่าสามารถชาร์จได้เท่าไหร่เราก็ต้องคิดไปว่าชาร์จได้ไปไม่เกิน 1-2C นะครับ แต่ส่วนใหญ่ถ้าไม่แปะบอกไว้ก็อาจจะมีฉลากอยู่ด้านหลังนะครับ ต้องลองดูดีๆ

แบตเตอร์รี่ลิโพต้องเหลือโวลล์น้อยๆไว้
ถ้าพูดถึงแบตเตอร์รี่หลายๆชนิดเขาจะสามารถชาร์จหรือดิสชาร์จได้เต็มที่โดยไม่ต้องไปกังวล ไม่เหมือนกับแบตเตอร์รี่ลิโพที่ต้องเหลือโวลล์ไว้ประมาณ 3.8V ต่อเซลล์ (ตัวเลข 3.8V นี้เป็นค่าที่เราควรจะใส่ใจในการใช้งาน ถ้าเราอยากรักษาลิโพของเราให้อยู่กับเราได้นานๆ)แต่ถ้าเราลองเล่นแบตลิโพให้หมดเรียบดูสิ รับรองแบตแตอร์รี่สุดรักของเราได้เสียไวแน่ๆ จำไว้นะครับถ้าเป็นแบตเตอร์รี่ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ลิโพถ้าอยากให้แบตนั้นๆอยู่กับเราได้นานๆเราต้องใช้ให้หมดและขาร์จให้เต็ม แต่ลิโพนั้นต้องเหลือไว้ตามกฎ 80%  อย่าได้ประมาทเด็ดขาดนะครับ อันตรายอาจจะเกิดขึ้นได้เลยนะครับ

กฎ 80%
ถ้าเราอยากให้แบตเตอร์รี่ลิโพของเราอยู่ได้นานๆเราต้องเอากฎข้อนี้มาใช้เลยครับ กฎนี้อธิบายง่ายๆก็คือว่าอย่าทำให้แบตลิโบ ลดเกิน 80% ของความจุของมันก็แค่นั้นเองครับ

ความร้อน
ความร้อนนี่เป็นตัวสำคัญเลยครับ ที่เราต้องใส่ใจถ้าเราใช้ลิโพ เราต้องพยายามอย่าให้ลิโพมีอุณหภูมิเกิน 60 องศา ถ้าจะให้ดีๆอย่าให้มันเกิน 50 องศาเลยครับ อันตรายมากๆครับ ยกตัวอย่างเช่น เล่นฮอจนแบตร้อนมากๆแบบนี้อาจจะทำให้แบตเตอร์รี่ของเราร้อนจนไหม้ได้ หรือ การขาร์จแบตเตอร์รี่ไว้ที่ๆมีอาการร้อนแบบนี้ก็เสี่ยงนะครับ ข้อนี้ผมเจอมาเองกับตัวเลย ผมเคยชาร์จแบตเตอร์รี่ในขณะตัวแบตเตอร์รี่มีอุณหภูมิ และยังชาร์จไว้กลางแจ้งอีก ผลก็คือ แบตเตอร์รี่และเครื่องชาร์จของผมไหม้เลย ฮ่าๆๆ และอีกอย่างการทิ้งแบตเตอร์รี่ไว้ในรถยนต์ข้อนี้เห็นกันบ่อยมากๆอาจจะทำให้รถไฟไหม้เลยนะครับ

ข้อควรระวังและการดูแลรักษาลิโพให้อยู่กับเราได้นานๆ

สำหรับแบตเตอรี่ที่เพิ่งซื้อมาใหม่
เมื่อเราซื้อแบตลิโพมาก้อนใหม่ แบตเตอรี่ก้อนนั้นจะอยู่ในสภาพที่ยังหลับอยู่ ก็หมายความขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะผลิตแบตเตอรี่ได้แต่ละก้อน ทางโรงงานจะใช้กระบวนการนึงที่จะทำให้แบตลิโพนั้นอยู่ในสภาพคงตัวเพื่อให้แบตเตอรี่ทุกก้อน มีอายุการเก็บได้นานที่สุดก่อนที่จะถูกเอามาใช้ โวลล์แต่ละเซลล์จะอยู่ที่ประมาณ 3.85V สภาพนี้จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อเรานำลิโพมาชาร์จหรือใช้งานนั่นเอง

และเมื่อเราได้แบตเตอรี่มาใหม่เราควรจะ break in ก่อนทุกครั้ง break in คืออะไร มันก็คือการวอร์มแบตนั่นเองก็หมายความว่า ไฟล์แรกๆเราควรจะชาร์จด้วยกระแสต่ำๆก่อนที่ 1C และเล่นให้เบาๆหรือจะฝึกเบสิก หมุนอยู่กับที่ หรือบินเดินทางเบาๆไปก่อนอย่าเพิ่งโหดกับมันมากนัก ค่อยๆปลุกมันตื่น อย่าเพิ่งรุนแรงกับมันตั้งแต่แรกพบ ถ้าเราทำแบบนี้กับแบตเตอรี่ใหม่ทุกครั้งผมรับรองเลยครับ มันจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้พอสมควรเลยครับ

การชาร์จแบตเตอรี่ลิโพ

สิ่งที่ควรทำ
1. สถานที่ชาร์จควรจะเป็นที่ๆเปิดโล่งหรือว่าเราสามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด พยายามอย่าชาร์จบริเวณที่มีอากาศร้อน หรือกลางแดด

2. ต้องแน่ใจว่าเครื่องชาร์จทำงานได้ดี ไม่มีปัญหาใดๆ

3. เลือกใช้เครื่องชาร์จที่สามารถป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น  เครื่องชาร์จที่สามารถหยุดการทำงานได้ทันทีเมื่อบริเวณนั้นมี    อุณหภูมิสูงเกินกว่าที่เรากำหนด ฟังชั่นนี้มีประโยชน์มากๆเพราะมันจะช่วยป้องกันการเกิดไฟไหม้ได้ ในกรณีที่เครื่องชาร์จหรือแบตเตอรี่ขณะชาร์จแล้วเกิดการผิดพลาด

4.หมั่นตรวจสอบการตั้งค่าการชาร์จและสายไฟเชื่อมต่อ ขั้วหรือปลั๊กต่างๆ ของเราบ่อยๆก่อนที่จะเริ่มชาร์จ เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากความประมาณของตัวผู้ใช้เอง

5.มีแผนการรองรับในกรณีที่อาจจะเกิดเรื่องไม่คาดคิด เช่นถ้าขณะชาร์จอยู่ อยู่ๆก็เกิดประกายไฟขึ้นทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้น กรณีที่เรามีแผนป้องกันไว้เราอาจจะมีน้ำ หรืออุปกรณ์ดับเพลิงหรืออะไรต่างๆที่สามารถหยิบจับมาตอบสนองได้ทันที

สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. ไม่ควรปล่อยหรือทิ้งแบตเตอรี่ที่กำลังชาร์จอยู่ไว้ตามลำพัง ไม่ได้หมายความให้เราต้องอยู่เฝ้ามันตลอดเวลา แต่ผมหมายความว่าเราไม่ควรทิ้งให้แบตเตอรี่มันชาร์จอยู่ไว้ที่บ้านแล้วเราออกไปข้างนอก แต่ขอให้เราอยู่บริเวณนั้น เผื่อมีเรื่องที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเราจะได้จัดการมันได้ทันงานนั่นเองครับ

2. อย่าชาร์จแบตเตอรี่ไว้ใกล้แหล่งที่ติดไฟง่าย หรือที่ๆจะสามารถมีอุณหภูมิสูง อย่างเช่น ในรถ หรือบริเวณที่มีแดดส่องถึง

การดิสชาร์จแบตเตอรี่
มาดูความหมายกันก่อนนะครับ การดิสชาร์จก็คือการคายประจุของแบตเตอร์รี่ จริงๆแล้วมันมีประโยชน์สำหรับแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cd และNi-MH มากกว่า Li-po ซะด้วยซ้ำ เพราะอะไร? ก็เพราะว่าแบตเตอรี่จำพวกNi-Cd และNi-MH ในสมัยก่อนนั้นจะมี memory effect นั่นเอง  memory effect จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราทำแบตเตอรี่จำพวก Ni-Cd และNi-MH มาใช้งานแล้วใช้ไม่หมด จากนั้นเรานำมาชาร์จเพิ่ม ตัวแบตเตอรี่มันจะจำประจุที่เข้ามาใหม่แล้วมันก็จะใช้ประจุที่เข้าแค่นั้น มันจะคิดว่าความจุของมันมีแค่ที่เข้ามาใหม่เท่านั้น ดังนั้นการเกิด memory effect จึงทำให้แบตเตอรี่ก้อนนั้นๆใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง แต่แบบเตอรี่  Ni-Cd และNi-MH สมัยใหม่นี้จะไม่ค่อยเกิด memory effect กันแล้วเพราะว่าเขาได้ใส่อะไรซักอย่างไปในแบตเตอรี่ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคือสารอะไรเพราะมันจะลึกเกินไปแล้ว ฮ่าๆๆ แต่แบตเตอรี่ในสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนไม่ค่อยจะเกิด memory effect กันแล้ว จึงทำให้การดิสชาร์จแบตเตอรี่ไม่ค่อยมีใครสนใจกันเท่าไหร่ เพราะมันไม่จำเป็นแล้วนั่นเองครับ

การสโตร์แบตเตอรี่ (Storage)
การ storage มันคือการลดประจุของแบตเตอรี่เอาไว้ในระดับที่เหมาะสมเพื่อเราจะเก็บหรือเราจะไม่ใช้แบตเตอรี่ก้อนนี้นานๆนั่นเอง วิธีมี 2 วิธีคือ อันแรกเอาเข้าเครื่องชาร์จ แล้วไปที่โหมด  storage change จากนั้นก็รอจนเสร็จ โวลล์แต่ละเซลล์จะได้ประมาณ 3.85Vแต่วิธีนี้จะใช้เวลานานพอสมควร คนส่วนใหญ่ก็เลยจะใช้วิธีการเล่นจนให้แบตเตอรี่ให้เหลือประมาณ 3.85V แล้วก็เก็บยาวเลย ส่วนที่เก็บแบตเตอรี่ควรจะเป็นที่ร่มและเย็น และต้องไม่ร้อนนะครับ สำคัญสุดเลยอย่าเอาไว้ในรถเด็ดขาด

10 สิ่งที่คนใช้ LiPo ต้องรู้

1. หลีกเลี่ยงการซื้อ LiPo มือสองตามเว็บ
: เพราะว่าการซื้อมือสองตามเว็บนั้น มันเสี่ยงมากๆครับที่จะไม่ได้รับข้อมูลจากคนขายครบทั้ง 100% ยกตัวอย่างเช่น “ขายแบต LiPo เพิ่งใช้ไปไม่เกิน 20 ไฟล์ สภาพสวย” เราจะรู้ได้ยังไงครับ ว่าแบตก้อนที่เค้าเอามาลงขายในเว็บจะไม่เคยตกหรือกระแทก .. อันตรายมากๆนะครับถ้าเกิดเราเอามาชาร์จแล้ววันดีคืนดี เกิดแบตบวมขึ้นเองจนแตก จนทำให้ไฟไหม้บ้าน

2. ห้ามนำ LiPo ที่บวมมาชาร์จหรือใช้
: LiPo ที่บวมมากๆ เหมือนเกือบจะแตกแล้ว ห้ามเอามาใช้งานหรือชาร์จโดยเด็ดขาดเห็นผลก็เหมือนข้อแรกเลยครับ เพราะเรารู้ไม่ได้เลยว่า มันจะเกิดหมดอายุขึ้นเมื่อไหร่ อันตรายมากๆเช่นกันครับ

3. ขณะชาร์จ LiPo ต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน 
: หมายถึงว่าตอนที่เราจะชาร์จ LiPo เราต้องหาอะไรที่จะมา Safe หรือป้องกัน LiPo ที่อาจจะเกิดการผิดพลาดขณะชาร์จด้วย เช่นหากล่องใส่หรือแผ่นรอง LiPo กันเกิดไฟไหม้ไว้ด้วยสำหรับตอนชาร์จ จริงอยู่มันอาจจะเกิดขึ้นได้น้อยครั้งมากๆ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นหล่ะ เราจะเอาไม่ทันเลยนะครับ หรือทางที่ดีเวลาชาร์จ LiPo ให้ชาร์จบนอะไรที่มันไม่ติดไฟจะดีที่สุดครับ

4. ห้าม overcharge
: อย่าชาร์จ LiPo จนเกินโวลล์ปกติ พูดง่ายๆก็คืออย่าชาร์จเกิน 4.2V ต่อเซลล์เพราะเดี๋ยวนี้เครื่องชาร์จมันสามารถตั้งได้ว่าเราจะชาร์จไปที่ V ต่อเซลล์ที่เท่าไหร่ .. อย่าเชียวนะครับ คิดว่าเรามี Trick หรือ กลเม็ดอะไรที่สามารถทำให้ LiPo แรงขึ้นหรือจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่เราต้องชาร์จแบบโวลล์โอเว่อร์ .. หยุดเลย !! อันตรายมากๆ

5. ขณะชาร์จห้ามละสายตา
: ขณะกำลังชาร์จ LiPo ไม่ควรปล่อยให้อยู่นอกสายตา เพราะถ้าเราไม่อยู่ เราจะไม่รู้เลยว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือถ้าเกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดขึ้นเราอาจจะแย่ได้

6. อย่า Discharge หรือเล่นให้โวลล์ต่ำกว่า 3.0 ต่อเซลล์
: เพื่อป้องกันแบต LiPo เสียหายถาวรนั่นเอง

7. อย่าทิ้ง LiPo ให้อยู่ในสถานะเต็มไว้เกิน 3 วัน
: ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารู้ว่าวันที่ 3 นี้ เราก็ไม่ได้เอาไปใช้แน่นอนก็ให้ Discharge โวลล์ลงมาให้เหลือ 3.7-.3.8 V ต่อเซลล์เพื่อให้ LiPo อยู่ในสถานะ Storage

8. อุณหภูมิขณะชาร์จ LiPo ต้องไม่ร้อนจนเกินไป
: อันนี้แน่นอน เห็นกันประจำที่สนาม ชาร์จกันหน้ารถแบบแดดส่องเต็มๆ อันตรายมากๆเพราะเสี่ยงไฟลุกได้เลยครับ

9. จำไว้เลย LiPo ไม่ชอบอากาศร้อน !!
: อย่าให้ LiPo ของเราเข้าใกล้เด็ดขาด เห็นมานักต่อนักแล้วที่ทิ้งลิโพไว้ในรถที่ตากแดดไว้ จนทำให้รถไฟไหม้

10. ห้ามโหลด LiPo ไว้ใต้เครื่อง
: เมื่อต้องการเดินทางโดยเครื่องบิน กฎสนามบินคือ ห้ามนำ LiPo โหลดใต้เครื่อง แต่ทางสนามบินจะให้เราหิ้วขึ้นไปแทนได้

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม